Home ลงทะเบียน รายชื่อผู้เข้าร่วม ประวัติความเป็นมา

โครงการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 16

16th Thailand Mathematics Olympiad (16th TMO)

โดย

มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ร่วมกับ

ศูนย์คณิตศาสตร์โอลิมปิก สอวน. มหาวิทยาลัยศิลปากร
วันที่ 18-22 พฤษภาคม พ.ศ.2562

1. โครงการ : โครงการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 16

16th Thailand Mathematics Olympiad (16th TMO)

2. หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ : ศูนย์คณิตศาสตร์โอลิมปิก สอวน. มหาวิทยาลัยศิลปากร

3. กำหนดการจัดการแข่งขันและสถานที่จัดการแข่งขัน

กำหนดการจัดการแข่งขัน วันที่ 18-22 พฤษภาคม 2562

สถานที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000

4. หลักการและเหตุผลของโครงการ
ตามที่ประธานมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (มูลนิธิ สอวน.) ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการมุ่งส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ให้มีโอกาสพัฒนาการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งเป็นการพัฒนามาตรฐานการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้ทัดเทียมกับระดับสากล นอกจากนั้นยังเป็นการสนับสนุนนักเรียนที่มีศักยภาพสูงทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติในสาขาต่างๆ ได้ โดยมูลนิธิ สอวน. ได้จัดให้มีศูนย์อบรม สอวน. ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ รวมจำนวน 16 ศูนย์ เพื่อช่วยให้นักเรียนมีความพร้อมที่จะเข้ารับการคัดเลือกไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ตามพระราชดำริขององค์ประธาน สอวน. พร้อมทั้งได้มอบหมายให้ศูนย์คณิตศาสตร์โอลิมปิก สอวน. ทั้ง 16 ศูนย์ รับดำเนินการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่สมัครเข้าอบรมเป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันกับนักเรียนที่เข้าค่ายวิชาการโอลิมปิกของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ต่อไป

ศูนย์คณิตศาสตร์โอลิมปิก สอวน. มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับมอบหมายจากมูลนิธิ สอวน. ให้เป็นศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ และได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก ครั้งที่ 16 ในปี พ.ศ. 2562 ดังนั้นศูนย์คณิตศาสตร์โอลิมปิก สอวน. มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้จัดทำโครงการจัดการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 16 (16 th Thailand Mathematics Olympiad) ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

5. วัตถุประสงค์

5.1 เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานของระบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของประเทศ

5.2 เพื่อทำให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันเกิดความรักและสนใจที่จะมุ่งเน้นศึกษาทางคณิตศาสตร์ หรือศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในระดับอุดมศึกษา จนอาจประกอบอาชีพนักวิจัยทางคณิตศาสตร์ในอนาคต

5.3 เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่เข้าอบรมวิชาคณิตศาสตร์ที่เป็นตัวแทนศูนย์ สอวน. ทั้ง 16 ศูนย์ทั่วประเทศ ให้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในรอบต่อไป

5.4 เพื่อให้อาจารย์จากศูนย์ สอวน. ทุกศูนย์มีประสบการณ์ร่วมกันในการเข้าร่วมจัดการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งสามารถนำไปใช้ปรับปรุงการสอน รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการอบรมทางวิชาการในสาขาคณิตศาสตร์ให้ดียิ่งขึ้น

5.5 เพื่อสร้างโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนทางความคิดของนักเรียน ตัวแทนครูจากโรงเรียนและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย

6. ผู้เข้าร่วมโครงการและผู้เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขัน จำนวน 249 คน ประกอบด้วย

6.1 นักเรียนผู้เข้าร่วมแข่งขันจากศูนย์ สอวน. ทั่วประเทศ 96 คน

6.2 นักเรียนจาก สสวท. 10 คน

6.3 อาจารย์ผู้แทนจากศูนย์ สอวน. ทั่วประเทศ 32 คน

6.4 ครูสังเกตการณ์จากศูนย์ สอวน. ทั่วประเทศ 16 คน

6.5 กรรมการฝ่ายวิชาการ 20 คน

6.6 กรรมการศูนย์เจ้าภาพ 35 คน

6.7 นักศึกษาช่วยงาน 40 คน

รวม 249 คน

การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ มีนักเรียนผู้แทนศูนย์ อาจารย์ผู้แทนศูนย์ และครูสังเกตการณ์ จากศูนย์ สอวน. วิชาคณิตศาสตร์ ทั่วประเทศ จำนวน 16 ศูนย์ ดังต่อไปนี้

ลำดับที่

ศูนย์ สอวน.

อาจารย์ผู้แทนศูนย์

(คน)

ครูสังเกตการณ์

(คน)

นักเรียนผู้แทนศูนย์

(คน)

1

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

2

1

6

2

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

2

1

6

3

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

2

1

6

4

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2

1

6

5

มหาวิทยาลัยนเรศวร

2

1

6

6

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2

1

6

7

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2

1

6

8

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

2

1

6

9

มหาวิทยาลัยบูรพา

2

1

6

10

มหาวิทยาลัยศิลปากร

2

1

6

11

มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี – โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

2

1

6

12

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

2

1

6

13

โรงเรียนเตรียมทหาร

2

1

6

14

โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย

2

1

6

15

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ – โรงเรียนศรีอยุธยา

2

1

6

16

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – โรงเรียนโยธินบูรณะ

2

1

6

รวม

32

16

96

7. วิธีการดำเนินงาน

วัน เดือน ปี

กิจกรรม

มิถุนายน 2561

คณะกรรมการศูนย์คณิตศาสตร์โอลิมปิก สอวน. มหาวิทยาลัยศิลปากร ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินการและเตรียมความพร้อมในการจัดการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 16 ศูนย์คณิตศาสตร์โอลิมปิก สอวน. มหาวิทยาลัยศิลปากรประสานงานกับมูลนิธิ สอวน. และศูนย์ สอวน. ทั้ง 16 ศูนย์ เพื่อแจ้งกำหนดการวันจัดการแข่งขันฯ

มิถุนายน – สิงหาคม 2561

ศูนย์คณิตศาสตร์โอลิมปิก สอวน. มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดการแข่งขันฯ

สิงหาคม – ตุลาคม 2561

คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ วางแผนการดำเนินการ และเตรียมนำเสนอในที่ประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดการแข่งขันฯ

พฤศจิกายน 2561

เข้าร่วมการประชุมศูนย์เจ้าภาพโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ
ปี พ.ศ.2562

ธันวาคม 2561

ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานจัดการแข่งขันฯ

มกราคม – พฤษภาคม 2562

ประชาสัมพันธ์การจัดการแข่งขันฯ

18 – 22 พฤษภาคม 2562

ดำเนินการจัดการแข่งขันฯ ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร

พฤษภาคม – มิถุนายน 2562

จัดทำรายงานสรุปการจัดการแข่งขันฯ

8. งบประมาณ

8.1 ประมาณการรายรับ

รายรับจากมูลนิธิ สอวน. 1,943,600 บาท

8.2 ประมาณการรายจ่าย

1. ค่าเดินทาง

290,000 บาท

2. ค่าตอบแทน/เบี้ยเลี้ยง

359,600 บาท

3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานการแข่งขัน

3.1 ค่าที่พัก

434,000 บาท

3.2 ค่าอาหาร

560,000 บาท

3.3 ค่าดำเนินการจัดการสอบ

30,000 บาท

3.4 ค่าใช้จ่ายในการไปทัศนศึกษา

100,000 บาท

3.5 ค่าใช้จ่ายพิธีเปิดและพิธีปิด

20,000 บาท

3.6 ค่าของที่ระลึก เหรียญรางวัล

50,000 บาท

4. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

100,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น (หนึ่งล้านเก้าแสนสี่หมื่นสามพันหกร้อยบาทถ้วน)

1,943,600 บาท

หมายเหตุ ขอถัวจ่ายทุกรายการ

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 สามารถกระตุ้นให้มีการพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนรู้ และมาตรฐานของระบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของประเทศ

9.2 สามารถทำให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันเกิดความรักและสนใจที่จะมุ่งเน้นการศึกษาทางคณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้นไป จนอาจประกอบอาชีพนักวิจัยทางคณิตศาสตร์ในอนาคตได้

9.3 ได้นักเรียนตัวแทนศูนย์ สอวน. เป็นตัวแทนเข้าร่วมการอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการของ สสวท. ในรอบต่อไป

9.4 อาจารย์จากศูนย์ สอวน. ทั่วประเทศได้แลกเปลี่ยนความรู้ นำไปปรับปรุงการสอน พัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น